Colour Blind – Big Data Institute https://bdi-test.nvme01.weon.website Big Data Institute Wed, 01 Mar 2023 07:06:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.7.1 https://bdi-test.nvme01.weon.website/wp-content/uploads/2022/03/cropped-sqr-logo-normal@3x-1-70x70.png Colour Blind – Big Data Institute https://bdi-test.nvme01.weon.website 32 32 การออกแบบ Data Visualization ให้คนตาบอดสีสามารถเข้าใจได้ด้วย https://bdi-test.nvme01.weon.website/big-data-101/data-visualization-for-color-blind/ https://bdi-test.nvme01.weon.website/big-data-101/data-visualization-for-color-blind/#respond Wed, 30 Jun 2021 17:00:00 +0000 https://bigdata.go.th/showroom/data-visualization-for-color-blind/ รู้หรือไม่ว่า ประมาณ 8% ของประชากรชาย และ 0.5% ประชากรหญิงทั่วโลกนั้นมีอาการตาบอดสี แล้วเราจะมีวิธีการอย่างไรให้ Data Visualization ของเราสามารถเข้าใจได้โดยคนกลุ่มนี้? เรามาดูกันครับ

The post การออกแบบ Data Visualization ให้คนตาบอดสีสามารถเข้าใจได้ด้วย appeared first on Big Data Institute.

]]>

ในการนำเสนอข้อมูลผ่านการทำ Data Visualization เรามักจะเห็นการใช้สีเพื่อสื่อถึงความหมายของตัวข้อมูล (ลองอ่าน เลือกแผนภาพอย่างไร) ซึ่งตัวเลือกที่นิยมใช้ตัวหนึ่งก็คือ การใช้สีเขียวใช้แสดงความเป็นบวก และใช้สีแดงใช้แสดงความเป็นลบ เพราะผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย แต่นี่อาจจะเป็นตัวเลือกที่ไม่ดีนักสำหรับคนบางกลุ่ม…

รู้หรือไม่ว่า ประมาณ 8% ของประชากรชาย และ 0.5% ประชากรหญิงทั่วโลกนั้นมีอาการตาบอดสี (Color-Blind) โดยเฉพาะในกลุ่มสีเขียวแดง คนกลุ่มนี้ (รวมถึงผู้เขียนเอง) จะไม่สามารถจำแนกสีเหล่านี้ได้ดีเท่าคนปกติ ทำให้ในการอ่านแผนภาพที่ใช้สีเขียวและแดงจะทำได้อย่างยากลำบาก แล้วเราจะมีวิธีการอย่างไรให้แผนภาพของเราสามารถเข้าใจได้โดยคนกลุ่มนี้? เรามาดูกันครับ (ในบทความนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงตาบอดสีประเภทแดงเขียวเท่านั้น ยังมีตาบอดสีประเภทอื่น เช่น เหลืองน้ำเงิน หรือ ขาวดำ ซึ่งจะพบในอัตราที่น้อยกว่ามาก)

Colour blindness
การเห็นสีที่ต่างกันของคนปกติ และ คนตาบอดสีแบบต่าง ๆ ภาพจาก Johannes Ahlmann

1. อย่าใช้สีเขียวพร้อมกับแดง แต่บางครั้งก็ใช้ได้นะ

นี่เป็นที่มาของหลักการที่กล่าวว่าไม่ควรใช้สีเขียวและสีแดงในแผนภาพเดียวกัน เพราะคนตาบอดสีสามารถจำแนกได้ยาก อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้สองสีพร้อมกันได้บางครั้ง เช่น เมื่อแท่งกราฟสีเขียวอยู่คนละฝั่งกับสีแดงเสมอ เป็นเพราะว่าคนตาบอดสียังมองเห็นสองสีนี้เป็นคนละสีอยู่ แต่ถ้าสีเขียวและแดงปนกันเมื่อใดและมีการใช้หลายเฉดแล้วละก็ อาจจะเป็นงานที่ยากนิดนึงในการจำแนกสีเพื่อตีความข้อมูล

Using green and red in the same chart.
(ซ้าย) เขียวและแดงปนกัน และใช้เฉดสีในการบอกถึงตัวเลข – ดูยาก
(ขวา) เขียวและแดงแยกกันอย่างชัดเจน แต่ละสีมีแค่เฉดเดียว – แยกได้อยู่

2. ใช้สีอื่นซะสิ แต่ก็ไม่ใช่แค่เขียวแดงเท่านั้นนะที่เป็นปัญหาสำหรับคน color-blind

จริงอยู่ที่คนตาบอดสีจำแนกเขียวแดงได้ลำบาก แต่ปัญหาของเราก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สองสีนี้ เพราะแทบทุกสีล้วนมีสีเขียวหรือแดงเป็นองค์ประกอบ ถ้ากล่าวให้ถูกคือเซลล์รับแสงสีเขียว และ เซลล์รับแสงสีแดง ซึ่งทำงานได้ไม่ดีในคนตาบอดสีเขียวแดง ก็ทำหน้าที่ในการรับสีอื่น ๆ เช่นกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียน คู่สีเหล่านี้ต้องใช้ความยากลำบากในการจำแนก

Colour pairs that are hard to distiguish by colour blind people
คู่สีที่ไม่เหมาะกับคนตาบอดสีแดงเขียว

ในขณะเดียวกันสีที่ contrast ได้ดีคือการใช้สีน้ำเงินคู่กับสีที่ไม่มีน้ำเงินเป็นองค์ประกอบ เช่น

Colour pairs that are easy to distiguish by colour blind people
คู่สีที่เหมาะกับคนตาบอดสี

ซึ่งอาจจะใช้ในการไล่เฉดสำหรับข้อมูลตัวเลข เช่น น้ำเงินสำหรับค่าบวก ส้มสำหรับค่าลบ ทำให้ยังอ่านสีได้ดีอยู่

Data Visualization with blue and orange is good for colour blind people.
ตัวอย่าง การใช้โทนสีที่เหมาะกับคนตาบอดสี สำหรับข้อมูลประเภทตัวเลข

3. ใช้ palette สีที่ color-blind friendly

สำหรับการใช้สีในการแบ่งหมวดหมู่ข้อมูล ยิ่งมีหลายหมวดหมู่ก็ต้องใช้สีเยอะ ทำให้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษว่าจะมีสีคู่ไหนที่จำแนกได้ลำบากหรือไม่ โชคดีที่ในหลาย ๆ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างกราฟ เช่น Tableau หรือ แพคเกจ seaborn ใน python จะมี palette สีที่เป็น Color-blind friendly อยู่แล้วซึ่งจะเหมาะสมในการใช้แบ่งข้อมูลประเภทหมวดหมู่

Color Blind palette ของ Tableau
Palette สีของแพคเกจ seaborn ใน python

4. ถ้าจำเป็นต้องใช้เขียวและแดงใน Data Visualization ล่ะ

หากสีขององค์กรเราเป็นโทนเขียวและแดง หรือผู้บริหารต้องการให้ใช้สีเขียวและแดง ก็ยังสามารถทำได้หากเราเลือกเฉดที่เหมาะสมของสีเขียวและสีแดง ตัวอย่างเช่นหากใช้เฉดสีเขียวอ่อนร่วมกับสีแดงเข้ม จะสามารถจำแนกสองสีนั้นได้อย่างไม่มีปัญหาสำหรับคนตาบอดสี เพราะความสว่างของสีที่ต่างกันจะทำให้จำแนกสีได้ง่ายขึ้นเป็นต้น

การใช้คู่สีเขียวและแดงในกราฟเดียวกัน (ซ้าย) แยกสีได้ลำบาก (ขวา) แยกสีได้ง่าย

5. หลีกเลี่ยงการพึ่งพาสีสำหรับการสื่อสารข้อมูลใน Data Visualization

ตัวเลือกนี้นับตัวเลือกที่สำคัญอีกด้วยหากแผนภาพของคุณต้องถูกพิมพ์และถ่ายเอกสาร หากพิมพ์ออกมาเป็นขาวดำ สีที่ใช้ก็จะหมดความหมาย ตัวเลือกอื่นที่มีก็เช่น ใช้สัญลักษณ์ที่ต่างกันสำหรับ Scatter Plot หรือ ใช้การแรเงาแทนการใช้สีสำหรับความหายบวก ความหมายลบ 

การใช้รูปร่าง (ซ้าย) และการแรเงา (ขวา) เพื่อสื่อความหมาย

แหล่งที่มา

เนื้อหาโดย นนทวิทย์ ชีวเรืองโรจน์
ตรวจทานและปรับปรุงโดย ปพจน์ ธรรมเจริญพร

The post การออกแบบ Data Visualization ให้คนตาบอดสีสามารถเข้าใจได้ด้วย appeared first on Big Data Institute.

]]>
https://bdi-test.nvme01.weon.website/big-data-101/data-visualization-for-color-blind/feed/ 0